วันจันทร์ที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2558

ไวรัสคอมพิวเตอร์
             ไวรัสคอมพิวเตอร์ (computer virus) หรือเรียกสั้นๆว่าไวรัส คือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่บุกรุกเข้าไปในเครื่อง
คอมพิวเตอร์โดยไม่ได้รับความยินยอมจากผู้ใช้ ส่วนมากจะพัฒนาขึ้นเพื่อสร้างความเสียหายให้กับระบบเครื่อง
คอมพิวเตอร์นั้นๆ ซึ่งไวรัสแบ่งออกเป็น 6 ประเภท ดังนี้
            1.ไวรัสพาราสิต (parasitic virus) ไวรัสประเภทนี้จะเริ่มทำงานและจำลองตัวเองเมื่อมีการเรียกใช้งานไฟล์
ที่ติดไวรัส  ไวรัสคอมพิวเตอร์โดยส่วนมากจะเป็นประเภทนี้
            2.ไวรัสบูตเซกเตอร์ (boot sector  virus ) ไวรัสประเภทนี้จะฝังตัวลงไปในบูตเซกเตอร์  แทนคำสั่งที่ใช้
ในการเริ่มทำงานของคอมพิวเตอร์ เมื่อเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ใช้งาน  ไวรัสประเภทนี้จะโหลดตัวเอง
เข้าไปในหน่วยควมจำก่อนที่จะโหลดระบบปฏิบัติการ  หลังจากนั้นจะสำเนาตัวเองไปฝั่งอยู่กับไฟล์อื่นๆด้วย
             3. ไวรัสเตลท์  (stealth virus)  ไวรัสประเภทนี้มีความสามารถในการเปลี่ยนแปลงตัวเองให้อยู่ในระบบโปรแกรมป้องกันไวรัสต่างๆ ตรวจไม่พบ  และเมื่อติดกับโปรแกรมใดแล้วจะทำให้โปรแกรมนั้นมีขนาดใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ
              4.ไวรัสโพลีมอร์ฟิก (polymorphic  virus )  ไวรัสประเภทนี้จะมีการเปลี่ยนแปลงตัวเองทุกครั้งที่ติดต่อไปยัง
เครื่องคอมพิวเตอร์ซึ่งจะส่งผลให้ไวรัสประเภทนี้ตรวจพบได้ยาก
               5. ไวรัสแมโคร  ( macro  virus )  ไวรัสประเภทนี้มีผลกับ  Macro  Application  (มกจะพบในโปรแกรมประเภท  Word  Processors )  เมื่อผู้ใช้เรียกใช้ไฟล์ที่มีไวรัสติดมาด้วยจะทำให้ไวรัสไปฝั่งตัวอยู่ในหน่วยความจำจนเต็ม
ซึ่งจะทำให้การทำงานของคอมพิวเตอร์ช้าลง  และอาจส่งผลเสียกับข้อมูลที่เก็บอยู่ในคอมพิวเตอร์ได้

                6. หนอนอินเทอร์เน็ต  ( worms  )  เป็นไวรัสคอมพิวเตอร์ชนิดหนึ่งที่ติดกันได้ทางอินเทอร์เน็ตสามารถแพร่กระจายได้อย่างรวดเร็ว  โดยไวรัสชนิดนี้จะคัดลอกตัวเองซ้ำแล้วใช้ระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเป็นสื่อในการแพร่กระจายโดยทั่วไปจะมากับอีเมล  ตัวอย่างของหนอนอินเทอร์เน็ต คือ   Adore   โดยจะมีการค้นหาเครื่อง คอมพิวเตอร์ที่มีระบบปฏิบัติการ  Linux หลังจากนั้นจะสร้างช่องทางในคอมพิวเตอร์เพื่อแฮกเกอร์  ( hacker ) สามารถเข้าไปยังคอมพิวเตอร์เครื่องนั้นได้
     
 ที่มา :  หนังสือเทคโนโลยีสารสเทศเเละการสื่อสาร ม.2 หน้า 13  อารียา ศรีประเสริฐเเละคณะ 

วันจันทร์ที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2558

                                                     สู้เพื่อแม่

วันที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ.2544 เป็นวันที่ผมได้เกิดมาเจอหน้าแม่เป็นครั้งแรก ตอนเด็กๆผมชอบตื่นมาร้องไห้ตอนกลางดึกทำให้แม่ตื่นและนอนไม่เต็มอิ่ม แต่แม่ก็ตื่นมาดูแลผมไม่เคยบ่นว่าเหนื่อย ถึงแม้แม่จะเหนื่อย แม่ต้องอดทนเลี้ยงดูผมตั้งแต่เล็กจนโตจนทำให้ผมได้ประสบความสำเร็จมากมาย เช่น แม่ส่งเสียให้ผมเรียนหนังสือ พาไปเที่ยว ซื้อของกินต่างๆให้กินให้ผมอิ่มทั้งที่แม่ยังไม่ได้กินอะไรเลย ผมอยากจะช่วยแม่ทำงานบ้าน ลดงานบ้านให้กับแม่ เวลาแม่กลับมาบ้านจะได้ไม่ต้องกลับมาทำงานบ้านให้เหนื่อยมากขึ้น เมื่อวันอาทิตย์ที่ 2 สิงหาคม พ.ศ.2558 ผมก็ได้ไปซ้อมกิจกรรมปั่นจักรยาน bike for mom ตอนซ้อมฝนตกหนักแต่ผมก็ยังซ้อมปั่นจักรยานอยู่เป็นระยะทาง36กิโลเมตร พอกลับถึงบ้านเป็นเวลาเกือบ 2 ทุ่ม แม่บอกว่าไม่น่าปั่นต่อเลยฝนตกฏ็น่าจะกลับบ้าน ได้แล้ว เดี๋ยวก็เป็นหวัดหรอก แสดงถึงความเป็นห่วงของแม่ ถ้าชาติหน้ามีจริงขอให้ผมได้เกิดมาเ)็นลูกแม่อีกครั้ง ผมอยากจะบอกแม่ว่าผมรักแม่ที่สุดในโลก
                                  
                   

วันอังคารที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

                                                                     

  สิ่งที่ผมเจอในวันนี้

                                                            สิ่งที่ฉันเจอในวันนี้

                เป็นสิ่งที่ทุกคนไม่ชอบเช่นกันกับผมที่ไม่ชอบมัน  มันคือการโดนทำโทษลุกนั่ง 40             ครั้ง            ( เเต่ผมคิดว่ามันมากกว่า 40 )  เพราะอะไรผมถึงโดนทำโทษ เพราะอาจารย์ พรสัมฤทธิ์ เป็นอาจารย์ที่สอนผมในวิชาคอมพิวเตอร์ อาจารย์ท่านได้ให้งานให้ผมไปถ่ายรูปการเจริญเติบโตของผัก เเต่ผมไม่ทำ  ในวันหยุดผมมัวเเต่ไปเล่นเกม  ไปเล่นเเต่อย่างอื่นโดยไม่สนใจงานจนลืม  มันสมควรเเล้วที่ผมโดนทำโทษ เเต่ถึงมันจะเหนื่อยเเต่มันก็ดีในอีกเเบบ  เพราะมันเป็นการออกกำลังกายอีกอย่างหนึ่ง
     เเละมันยังเป็นการฝึกความสามัคคีในห้องเเละกลุ่มเพื่อนๆ ของพวกผม เพราะถ้าพวกผมทำเร็วไป
           หรือทำช้าไป  หรือทำไม่พร้อมกัน พวกผมก็จะโดนทำใหม่ นับต้องเเต่ 1 ใหม่ จนครบ
      เเต่ความจิงผมยังไม่ได้ปลูกผักเลยด้วยซ้ำ เเละนี้คือสิ่งที่ผมเจอในวันนี้ มันอาจไม่สวยงาม 
                                                      เเต่มันก็น่าจดจำเป็นอย่างมาก
 

วันเสาร์ที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

เครือข่ายคอมพิวเตอร์

       เครือข่ายคอมพิวเตอร์ (computer network)  คือ ระบบที่มีคอมพิวเตอร์อย่างน้อยสองเครื่องเชื่อมต่อกันโดยใช้สื่อกลาง และสามารถสื่อสารข้อมูลกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งทำให้ผู้ใช้คอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องสามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลซึ่งกันและกันได้  นอกจากนี้ยังสามารถใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ในเครือข่ายร่วมกันได้ เช่นเครื่องพิมพ์ สแกนเนอร์ ฮาร์ดดิสก์ เป็นต้น  การใช้ทรัพยากรเหล่านี้ผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ช่วยให้ประหยัดค่าใช้จ่ายได้มาก  เมื่อมีการเชื่อมต่อกับเครือข่ายอื่นๆ ที่อยู่ห่างไกล เช่น ระบบอินเตอร์เน็ต ซึ่งเป็นเครือข่ายที่เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ทั่วโลก  ก็ทำให้สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูล ข่าวสาร ได้กับคนทั่วโลก โดยใช้แอพพลิเคชั่น เช่น เว็บ อีเมลล์ เป็นต้น
        การสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์มีที่มาจากผู้ที่ต้องการแลกเปลี่ยนข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพและรวดเร็ว คอมพิวเตอร์นั้นเป็นอุปกรณ์ที่มีความสามารถในการประมวลข้อมูลในปริมาณมากได้อย่างรวดเร็ว แต่มีข้อเสียคือ ผู้ใช้ไม่สามารถแชร์ข้อมูลกับคนอื่นๆได้ ดังนั้น ก่อนมีการสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ผู้ใช้จะแลกเปลี่ยนข้อมูลกันโดยการ พิมพ์(print) ข้อมูลออกมาเป็นเอกสารก่อนแล้วค่อยนำไปให้ผู้ใช้ที่ต้องการใช้หรือแก้ไขข้อมูลอีกคนหนึ่ง ซึ่งทำให้เสียเวลาและเป็นวิธีที่ยุ่งยากมากเมื่อเปรียบเทียบกับปัจจุบันที่มีการใช้เครือข่ายคอมพิวเตอร์แล้ว 
        การทำสำเนา(copy) หรือ บันทึก(save) ข้อมูลลงในแผ่นดิสก์(floppy disk) แล้วส่งให้คนอื่นก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่นิยมใช้กันก่อนที่จะมีการสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์ และนับว่าเป็นวิธีที่เสียเวลาและยุ่งยากน้อยกว่าการส่งเป็นแผ่นกระดาษ เนื่องจากไม่ต้องเสียเวลาในการแปลงข้อมูล เพราะคอมพิวเตอร์สามารถอ่านข้อมูลในแผ่นดิสก์ได้เลย การใช้คอมพิวเตอร์ลักษณะนี้เรียกว่า sneakernet หรือ เครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่มีคนเป็นสื่อรับส่งข้อมูล การใช้เครือข่ายแบบ sneakernet นี้ ถือว่ายังช้ามากเมื่อเทียบกับความเร็วของคอมพิวเตอร์ อย่างไรก็ตามในปัจจุบันการใช้คอมพิวเตอร์ลักษณะนี้ก็ยังมีการใช้กันอยู่บ้างในองค์กรที่ไม่มีระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
           การใช้เครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์กันโดยสายสัญญาณ การถ่ายโอนข้อมูลระหว่างเครื่องจะเร็วมากเนื่องจากการเดินทางของข้อมูลผ่านสายสัญญาณนี้ จะมีความเร็วเกือบเท่าความเร็วแสง เพราะฉะนั้นถึงแม้ว่าผู้ใช้คอมพิวเตอร์จะอยู่ห่างกันแค่ไหน การแลกเปลี่ยนข้อมูลก็จะเร็วกว่าการใช้แผ่นดิสก์มาก เครือข่ายแบบนี้ทำให้ผู้ใช้สามารถแชร์ข้อมูลได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ


องค์ประกอบพื้นฐานของเครือข่ายคอมพิวเตอร์ 

- คอมพิวเตอร์อย่างน้อย 2 เครื่อง
- เน็ตเวิร์คการ์ด(NIC : Network Interface Card)
- สายสัญญาณและอุปกรณ์รับส่งข้อมูล เช่น เราท์เตอร์ เกตเวย์ เป็นต้น
- โปรโตคอล(Protocol) หรือ ภาษาที่คอมพิวเตอร์ใช้สื่อสารผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์
- ระบบปฏิบัติการเครือข่าย(NOS : Network Operating System)


ประโยชน์ของเครือข่ายคอมพิวเตอร์

- สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ
- สามารถแชร์ซอฟแวร์และฮาร์ดแวร์ได้ เช่น เครื่องพิมพ์ สแกนเนอร์ ฮาร์ดดิสก์ เป็นต้น
- สามารถรวมการจัดการไว้ในเครื่องที่เป็น server
- สามารถใช้จดหมายอิเล็กทรอนิกส์(e-mail) เพื่อติดต่อผู้ที่อยู่ไกลกันได้อย่างรวดเร็ว
- การสนทนาผ่านเครือข่าย(chat)
- การประชุมทางไกล(video conference)
- ประหยัดค่าใช้จ่ายในการซื้อซอฟแวร์และฮาร์ดแวร์จำนวนมาก เนื่องจากใช้ร่วมกันได้
ที่มา http://guru.sanook.com/2287/

วันจันทร์ที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2558

รายการหอมแผ่นดิน ตอน เศรษฐกิจพอใจ

แม่คำตา โสนะชัย เกษตรกรทำสวนขจร บ้านดอนเรือ ต.ดอนโอง อ.โพธิ์ชัย จ.ร้อยเอ็ด มีชีวิตธรรมดาๆไม่ต่างจากชาวบ้านในชนบททั่วไปที่มีอาชีพรับจ้างและปลูกผักขายจนกระทั­่งวันที่ลูกชายถือต้นขจรเข้าบ้าน จากวันนั้นถึงวันนี้ชีวิตของคำตาและครอบคร­ัวเปลี่ยนไปเมื่อได้พบกับคำว่าเศรษฐกิจพอใ­จ

  

ที่มา https://www.youtube.com/watch?v=HQ4OQdAGXTo 



หอมแผ่นดิน ตอน รอยเท้าที่ใหญ่กว่า 

22 มีนาคม 2558 

ติดตามเรื่องราว รอยเท้าที่ใหญ่กว่า 22 มีค 58

  

ที่มา https://www.youtube.com/watch?v=aFTy2gn6fLc

หอมแผ่นดิน ตอน สิ่งที่ฝันกับสิ่งที่เป็น

ชีวิตของจุฑารัตน์ เสียมกำปังในฐานะเกษตรกร เริ่มต้นขึ้นหลังจากตัดสินใจลาออกจากอาชีพ พยาบาล อาชีพที่แม่ อยากให้เป็น
ท่ามกลางความไม่เห็นด้วยของคนในครอบครัว นักเรียนเต็มเวลา อย่างจุฑารัตน์ เริ่มต้นการเป็นเกษตรกร โดยเริ่มต้นบทเรียนภาคสนามกับแม่
“เรา มาทำตอนแก่ มันอาจจะหมดไฟ ความอยากรู้อยากเห็น อยากที่จะทดลอง หรืออยากที่จะพัฒนาต่างๆ มันอาจจะลดลง ตอนนี้มีพลังที่จะเรียนรู้ มีความกระตือลือล้นที่จะอยากรู้อยากเห็นตา

­มวัย มันก็อาจจะเรียนรู้ได้มากกว่า”

 

  ที่มา https://www.youtube.com/watch?v=ZmpVOya2O5E

วันจันทร์ที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2558

เศรษฐกิจพอเพียง




ศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาชี้ถึงแนวการดำรงอยู่ และปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชนจนถึงระดับรัฐ ทั้งในการพัฒนา และบริหารประเทศให้ดำเนินไปใน ทางสายกลาง โดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อให้ก้าวทันต่อโลกยุคโลกาภิวัตน์ 

ความพอเพียง หมายถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล รวมถึงความจำเป็นที่จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควร ต่อการมีผลกระทบใดๆ อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายนอก และภายใน ทั้งนี้จะต้องอาศัยความรอบรู้ ความรอบคอบ และความระมัดระวังอย่างยิ่ง ในการนำวิชาการต่าง ๆ มาใช้ในการวางแผน และการดำเนินการทุกขั้นตอน และขณะเดียวกันจะต้องเสริมสร้างพื้นฐานจิตใจของคนในชาติโดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ของรัฐ นักทฤษฎี และนักธุรกิจในทุกระดับให้มีสำนึกในคุณธรรม ความซื่อสัตย์สุจริต และให้มีความรอบรู้ที่เหมาะสม ดำเนินชีวิต ด้วยความอดทน ความเพียร มีสติ ปัญญา และความรอบคอบ เพื่อให้สมดุล และพร้อมต่อการรองรับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และกว้างขวางทั้งด้านวัตถุ สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมจากโลกภายนอกได้เป็นอย่างดี 

การนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้     
ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงนี้ เป็นกรอบแนวความคิดและทิศทางการพัฒนาระบบเศรษฐกิจมหภาคของไทย ซึ่งบรรจุอยู่ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 (พ.ศ. 2550-2554)เพื่อมุ่งสู่การพัฒนาที่สมดุล ยั่งยืน และมีภูมิคุ้มกัน เพื่อความอยู่ดีมีสุข มุ่งสู่สังคมที่มีความสุขอย่างยั่งยืน หรือที่เรียกว่า สังคมสีเขียว (Green Society) ด้วยหลักการดังกล่าว แผนพัฒนาฯฉบับที่ 10 นี้จะไม่เน้นเรื่องตัวเลขการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ แต่ยังคงให้ความสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจแบบทวิลักษณ์ หรือระบบเศรษฐกิจที่มีความแตกต่างกันระหว่างเศรษฐกิจชุมชนเมืองและชนบท 
ดร.สมเกียรติ อ่อนวิมล เรียกสิ่งนี้ว่า วิกฤตเศรษฐกิจพอเพียง คือ ความไม่รู้ว่าจะนำปรัชญานี้ไปใช้ทำอะไร กลายเป็นว่าผู้นำสังคมทุกคน ทั้งนักการเมืองและรัฐบาลใช้คำว่า เศรษฐกิจพอเพียง เป็นข้ออ้างในการทำกิจกรรมใด ๆ เพื่อให้รู้สึกว่าได้สนองพระราชดำรัสและให้เกิดภาพลักษณ์ที่ดี หรือพูดง่ายๆ ก็คือ เศรษฐกิจพอเพียง ถูกใช้เพื่อเป็นเครื่องมือเพื่อตัวเอง ซึ่งความไม่เข้าใจนี้อาจเกิดจากการสับสนว่าเศรษฐกิจพอเพียงกับทฤษฎีใหม่นั้นเป็นเรื่องเดียวกัน ทำให้มีความเข้าใจว่า เศรษฐกิจพอเพียงหมายถึงการปฏิเสธอุตสาหกรรมแล้วกลับไปสู่เกษตรกรรม ซึ่งเป็นความเข้าใจที่ผิด 

ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงนี้ ได้รับการเชิดชูสูงสุด จาก สหประชาชาติ (UN)โดยนายโคฟี อันนัน ในฐานะเลขาธิการองค์การสหประชาชาติ ได้ทูลเกล้าฯถวายรางวัล The Human Development Lifetime Achievement Award แก่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อ 26 พฤษภาคม 2549 และได้มีปาฐกถาถึงปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงว่าเป็นปรัชญาที่สามารถเริ่มได้จากการสร้างภูมิคุ้มกันในตนเอง สู่หมู่บ้าน และสู่เศรษฐกิจในวงกว้างขึ้นในที่สุด เป็นปรัชญาที่มีประโยชน์ต่อประเทศไทยและนานาประเทศ โดยที่องค์การสหประชาชาติได้สนับสนุนให้ประเทศต่างๆที่เป็นสมาชิก 166 ประเทศยึดเป็นแนวทางสู่การพัฒนาประเทศแบบยั่งยืน 

  

หลักแนวคิดของเศรษฐกิจพอเพียง 

การพัฒนาตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง คือการพัฒนาที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของทางสายกลาง และความไม่ประมาท โดยคำนึงถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล การสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว ตลอดจนใช้ความรู้ความรอบคอบ และคุณธรรม ประกอบการวางแผน การตัดสินใจ และการกระทำ 



ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มีหลักพิจารณาอยู่ 5 ส่วน ดังนี้ 

กรอบแนวคิด เป็นปรัชญาที่ชี้แนะแนวทางการดำรงอยู่ และปฏิบัติตนในทางที่ควรจะเป็น โดยมีพื้นฐานมาจากวิถีชีวิตดั้งเดิมของสังคมไทย สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้ตลอดเวลา และเป็นการมองโลกเชิงระบบที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา และเป็นการมองโลกเชิงระบบที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา มุ่งเน้นการรอดพ้นจากภัย และวิกฤต เพื่อความมั่นคง และความยั่งยืนของการพัฒนา 

คุณลักษณะ เศรษฐกิจพอเพียงสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติตนได้ในทุกระดับ โดยเน้นการปฏิบัติบนทางสายกลาง และการพัฒนาอย่างเป็นขั้นตอน 

คำนิยาม ความพอเพียงจะต้องประกอบด้วย 3 คุณลักษณะ พร้อม ๆ กันดังนี้ 
ความพอประมาณ หมายถึง ความพอดีที่ไม่น้อยเกินไป และไม่มากเกินไปโดยไม่เบียดเบียนตนเอง และผู้อื่น เช่นการผลติ และการบริโภคที่อยู่ในระดับพอประมาณ


ความมีเหตุผล หมายถึง การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับของความพอเพียงนั้น จะต้องเป็นไปอย่างมีเหตุผล โดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้องตลอดจนคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทำนั้น ๆ อย่างรอบคอบ

การมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบ และการเปลี่ยนแปลงด้านต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นโดยคำนึงถึงความเป็นไปได้ของสถานการณ์ ต่าง ๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตทั้งใกล้ และไกล

เงื่อนไข การตัดสินใจและการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ให้อยู่ในระดับพอเพียงนั้น ต้องอาศัยทั้งความรู้ และคุณธรรมเป็นพื้นฐาน กล่าวคือ 
เงื่อนไขความรู้ ประกอบด้วย ความรอบรู้เกี่ยวกับวิชาการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างรอบด้าน ความรอบคอบที่จะนำความรู้เหล่านั้นมาพิจารณาให้เชื่อมโยงกัน เพื่อประกอบการวางแผน และความระมัดระวังในขั้นปฏิบัติ

เงื่อนไขคุณธรรม ที่จะต้องเสริมสร้างประกอบด้วย มีความตระหนักในคุณธรรม มีความซื่อสัตย์สุจริต และมีความอดทน มีความเพียร ใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิต

แนวทางปฏิบัติ / ผลที่คาดว่าจะได้รับ จากการนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ คือ การพัฒนาที่สมดุล และยั่งยืน พร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลงในทุกด้าน ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม ความรู้ และเทคโนโลยี 

  

เศรษฐกิจพอเพียงกับทฤษฎีใหม่ตามแนวพระราชดำริ 

เศรษฐกิจพอเพียง และแนวทางปฏิบัติของทฤษฎีใหม่ เป็นแนวทางในการพัฒนาที่นำไปสู่ความสามารถในการพึ่งตนเอง ในระดับต่าง ๆ อย่างเป็นขั้นตอน โดยลดความเสียงเกี่ยวกับความผันแปรของธรรมชาติ หรือการเปลี่ยนแปลงจากปัจจัยต่าง ๆ โดยอาศัยความพอประมาณ และความมีเหตุผล การสร้างภูมิคุ้มกันที่ดี มีความรู้ ความเพียร และความอดทน สติ และปัญญา การช่วยเหลือซึ่งกันและกัน และความสามัคคี 

เศรษฐกิจพอเพียงความหมายกว้างกว่าทฤษฎีใหม่ โดยที่เศรษฐกิจพอเพียงเป็นกรอบแนวคิดที่ชี้บอกหลักการ และแนวทางปฏิบัติของทฤษฎีใหม่ ในขณะที่ แนวพระราชดำริเกี่ยวกับทฤษฎีใหม่ หรือเกษตรทฤษฎีใหม่ ซึ่งเป็นแนวทางการพัฒนาการเกษตรอย่างเป็นขั้นตอนนั้น เป็นตัวอย่างการใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียงในทางปฏิบัติ ที่เป็นรูปธรรม เฉพาะในพื้นที่ที่เหมาะสม ทฤษฎีใหม่ตามแนวพระราชดำริ อาจเปรียบเทียบกับหลักเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งมีอยู่ 2 แบบ คือ แบบพื้นฐาน กับ แบบก้าวหน้า 
ขั้นที่ 1 ที่มุ่งแก้ปัญหาของเกษตรกรที่อยู่ห่างไกลแหล่งน้ำ ต้องพึ่งน้ำฝน และประสบความเสี่ยงจากการที่น้ำไม่พอเพียง แม้กระทั่งสำหรับการปลูกข้าวเพื่อบริโภค และมีข้อสมมติว่า มีที่ดินพอเพียงในการขุดบ่อเพื่อแก้ปัญหาในเรื่องดังกล่าว จากการแก้ปัญหาความเสี่ยงเรื่องน้ำ จะทำให้เกษตรกรสามารถมีข้าวเพื่อการบริโภคยังชีพในระดับหนึ่ง และใช้ที่ดินส่วนอื่น ๆ สนองความต้องการพื้นฐานของครอบครัว รวมทั้งขายในส่วนที่เหลือเพื่อมีรายได้ที่จะใช้เป็นค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ที่ไม่สามารถผลิตเองได้ ทั้งหมดนี้เป็นการสร้างภูมิคุ้มกันในตัวให้เกิดขึ้นในระดับครอบครัว อย่างไรก็ตาม แม้กระทั่ง ในทฤษฎีใหม่ขั้นที่ 1 ก็จำเป็นที่เกษตรกรจะต้องได้รับความช่วยเหลือจากชุมชนราชการ มูลนิธิ และภาคเอกชน ตามความเหมาะสมความพอเพียงในระดับชุมชน และระดับองค์กรเป็นเศรษฐกิจพอเพียงแบบก้าวหน้า ซึ่งครอบคลุมทฤษฎีใหม่

ขั้นที่ 2 เป็นเรื่องของการสนับสนุนให้เกษตรกรรวมพลังกันในรูปกลุ่มหรือสหกรณ์ หรือการที่ธุรกิจต่าง ๆ รวมตัวกันในลักษณะเครือข่ายวิสาหกิจ กล่าวคือ เมื่อสมาชิกในแต่ละครอบครัว หรือองค์กรต่าง ๆ มีความพอเพียงขั้นพื้นฐานเป็นเบื้องต้นแล้วก็จะรวมกลุ่มกันเพื่อร่วมมือกันสร้างประโยชน์ให้แก่กลุ่ม และส่วนรวมบนพื้นฐานของการไม่เบียดเบียนกัน การแบ่งปันช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ตามกำลังและความสามารถของตน ซึ่งจะสามารถทำให้ ชุมชนโดยรวม หรือเครือข่ายวิสาหกิจนั้น ๆ เกิดความพอเพียงในวิถีปฏิบัติอย่างแท้จริงความพอเพียงในระดับประเทศ เป็นเศรษฐกิจพอเพียงแบบก้าวหน้า ซึ่งครอบคลุมทฤษฎีใหม่

ขั้นที่ 3 ซึ่งส่งเสริมให้ชุมชน หรือเครือข่ายวิสาหกิจ สร้างความร่วมมือกับองค์กรอื่น ๆ ในประเทศ เช่น บริษัทขนาดใหญ่ ธนาคาร สถาบันวิจัย เป็นต้น

การสร้างเครือข่ายความร่วมมือในลักษณะเช่นนี้ จะเป็นประโยชน์ในการสืบทอดภูมิปัญญา แลกเปลี่ยนความรู้ เทคโนโลยี และบทเรียนจากการพัฒนา หรือ ร่วมมือกันพัฒนา ตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงทำให้ประเทศอันเป็นสังคมใหญ่อันประกอบด้วยชุมชน องค์กร และธุรกิจต่าง ๆ ที่ดำเนินชีวิตอย่างพอเพียงกลายเป็นเครือข่ายชุมชนพอเพียงที่เชื่อมโยงกันด้วยหลักไม่เบียดเบียน แบ่งปัน และช่วยเหลือซึ่งกันและกันได้ในที่สุด

  

ประการที่สำคัญของเศรษฐกิจพอเพียง 

พอมีพอกิน ปลูกพืชสวนครัวไว้กินเองบ้าง ปลูกไม้ผลไว้หลังบ้าน 2-3 ต้น พอที่จะมีไว้กินเองในครัวเรือน เหลือจึงขายไป 

พออยู่พอใช้ ทำให้บ้านน่าอยู่ ปราศจากสารเคมี กลิ่นเหม็น ใช้แต่ของที่เป็นธรรมชาติ (ใช้จุลินทรีย์ผสมน้ำถูพื้นบ้าน จะสะอาดกว่าใช้น้ำยาเคมี) รายจ่ายลดลง สุขภาพจะดีขึ้น (ประหยัดค่ารักษาพยาบาล) 

พออกพอใจ เราต้องรู้จักพอ รู้จักประมาณตน ไม่ใคร่อยากใคร่มีเช่นผู้อื่น เพราะเราจะหลงติดกับวัตถุ ปัญญาจะไม่เกิด 

ที่มา http://welovethaiking.com/blog/%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%A2-%E0%B9%80%E0%B8%A8%E0%B8%A3%E0%B8%A9%E0%B8%90%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%88%E0%B8%9E%E0%B8%AD%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%B5%E0%B8%A2/

วันจันทร์ที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2558

ซอฟท์แวร์และภาษาคอมพิวเตอร์

เมื่อมนุษย์ต้องการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการทำงาน มนุษย์จะต้องบอกขั้นตอนวิธีการให้คอมพิวเตอร์ทราบ การที่บอกสิ่งที่มนุษย์เข้าใจให้คอมพิวเตอร์รับรู้ และทำงานได้อย่างถูกต้อง จำเป็นต้องมีสื่อกลาง ถ้าเปรียบเทียบกับชีวิตประจำวันแล้ว เรามีภาษาที่ใช้ในการติดต่อซึ่งกันและกัน เช่นเดียวกันถ้ามนุษย์ต้องการจะถ่ายทอดความต้องการให้คอมพิวเตอร์รับรู้และปฏิบัติตาม จะต้องมีสื่อกลางสำหรับการติดต่อเพื่อให้คอมพิวเตอร์รับรู้ เราเรียกสื่อกลางนี้ว่าภาษาคอมพิวเตอร์
เนื่องจากคอมพิวเตอร์ทำงานด้วยสัญญาณทางไฟฟ้า ใช้แทนด้วยตัวเลข 0 และ 1 ได้ ผู้ออกแบบคอมพิวเตอร์ใช้ตัวเลข 0 และ 1 นี้เป็นรหัสแทนคำสั่งในการสั่งงานคอมพิวเตอร์ รหัสแทนข้อมูลและคำสั่งโดยใช้ระบบเลขฐานสองนี้ คอมพิวเตอร์สามารถเข้าใจได้ เราเรียกเลขฐานสองที่ประกอบกันเป็นชุดคำสั่งและใช้สั่งงานคอมพิวเตอร์ว่าภาษาเครื่อ
การใช้ภาษาเครื่องนี้ถึงแม้คอมพิวเตอร์จะเข้าใจได้ทันที แต่มนุษย์ผู้ใช้จะมีข้อยุ่งยากมาก เพราะเข้าใจและจดจำได้ยาก จึงมีผู้สร้างภาษาคอมพิวเตอร์ในรูปแบบที่เป็นตัวอักษร เป็นประโยคข้อความ ภาษาในลักษณะดังกล่าวนี้เรียกว่า ภาษาคอมพิวเตอร์ระดับสูง ภาษาระดับสูงมีอยู่มากมาย บางภาษามีความเหมาะสมกับการใช้สั่งงานการคำนวณทางคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ บางภาษามีความเหมาะสมไว้ใช้สั่งงานทางด้านการจัดการข้อมูล
ในการทำงานของคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์จะแปลภาษาระดับสูงให้เป็นภาษาเครื่อง ดังนั้นจึงมีผู้พัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำหรับแปลภาษาคอมพิวเตอร์ระดับสูงให้เป็นภาษาเครื่อง โปรแกรมที่ใช้แปลภาษาคอมพิวเตอร์ระดับสูงให้เป็นภาษาเครื่องเรียกว่า คอมไพเลอร์ (compiler) หรืออินเทอร์พรีเตอร์ (interpreter)
คอมไพเลอร์จะทำการแปลโปรแกรมที่เขียนเป็นภาษาระดับสูงทั้งโปรแกรมให้เป็นภาษาเครื่องก่อน แล้วจึงให้คอมพิวเตอร์ทำงานตามภาษาเครื่องนั้น
ส่วนอินเทอร์พรีเตอร์จะทำการแปลทีละคำสั่ง แล้วให้คอมพิวเตอร์ทำตามคำสั่งนั้น เมื่อทำเสร็จแล้วจึงมาทำการแปลคำสั่งลำดับต่อไป ข้อแตกต่างระหว่างคอมไพเลอร์กับอินเทอร์พรีเตอร์จึงอยู่ที่การแปลทั้งโปรแกรมหรือแปลทีละคำสั่ง ตัวแปลภาษาที่รู้จักกันดี เช่น ตัวแปลภาษาเบสิก ตัวแปลภาษาโคบอล
ซอฟต์แวร์หรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์จึงเป็นส่วนสำคัญที่ควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์ให้ดำเนินการตามแนวความคิดที่ได้กำหนดไว้ล่วงหน้าแล้ว คอมพิวเตอร์ต้องทำงานตามโปรแกรมเท่านั้น ไม่สามารถทำงานที่นอกเหนือจากที่กำหนดไว้ในโปรแกรม


ที่มา http://web.ku.ac.th/schoolnet/snet1/software/software/